ข้อควรจำประการแรก
ให้ผู้ปฏิบัติอธิบายว่า ผู้ปฏิบัติกำหนดอารมณ์กรรมฐานหลักอย่างไร และเมื่อกำหนดแล้วผู้ปฏิบัติได้รู้อะไร หรือเกิดประสบการณ์อะไรจากการกำหนดนั้น
ผู้ปฏิบัติควรที่จะทำความรู้สึกและกำหนดรู้ความเคลื่อนไหวทั้งหมดของการพองและารยุบตั้งแต่เริ่มต้น ตอนกลาง และสิ้นสุด ให้ต่อเนื่องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การกำหนดรู้นั้นควรที่จะถูกตรง จดจ่ออยู่ที่สภาวะพองยุบและดำเนินไปพร้อมกับความเคลื่อนไหวของท้องอย่างแนบแน่นสืบเนื่องโดยตลอดทั้งสามช่วงข้างต้น
รายงานอะไร
ประการแรกให้ผู้ปฏิบัติอธิบายว่าการกำหนดรู้อารมณ์นั้นเท่าทันปัจจุบันเพียงไร และผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของท้องตลอดทั้งสามช่วงหรือไม่เพียงไร ประการที่สองให้ผู้ปฏิบัติรายงานว่าได้ “เห็น” (รู้) อะไร เมื่อเฝ้าดูการพองและการยุบ
คำอธิบายเพิ่มเติม
สภาพรูปธรรมของการพองและยุบของท้องมีอยู่สามลักษณะคือ รูปร่างหรือสัณฐาน:
หมายถึงรูปร่างหรือรูปทรงของท้องที่ผู้ปฏิบัติน้อมความระลึกรู้ไปจดจ่ออยู่อย่างตั้งอกตั้งใจ
อาการ:
หมายถึงอาการของท้อง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ท้องแบนราบ พองออก ยุบเข้า ยาว สั้น ใหญ่ เล็ก ฯลฯ
ลักษณะที่แท้จริงหรือสภาวะลักษณะ:
หมายถึงความเคร่งตึง ตลอดจนความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่ท้องพองยุบ