กฎ ระเบียบ และข้อบังคับในระหว่างการอยู่ปฏิบัติธรรม
|
๑.
|
เป็นผู้เปี่ยมด้วยศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ และสามารถเปิดใจยอมรับเทคนิคใหม่ๆ ในการปฏิบัติที่พระวิปัสสนาจารย์ถ่ายทอดให้ ด้วยความเต็มใจ |
๒.
|
นักปฏิบัติจะต้องระลึกเสมอว่า เรามาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อ หาความสุข ในการอยู่ดีกินดี เราจึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวก และกระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบความอดทน และคุณธรรมของนักปฏิบัติว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด |
๓.
|
นักปฏิบัติจะต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น ไม่ควรออกนอกสถานที่ปฏิบัติ ถ้ามีธุระจำเป็น ต้องออกจากศูนย์ฯ ต้องได้รับอนุญาตจาก พระวิปัสสนาจารย์เสียก่อน |
๔.
|
ไม่ควรสลับสับเปลี่ยนสิ่งของประจำห้อง หรือหยิบกลับไปบ้าน ก่อนได้รับอนุญาต (ถ้าของใช้มีปัญหา ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ) |
๕.
|
ทางศูนย์ฯ ได้จัดที่พักไว้โดยเฉพาะ มีไฟฟ้า น้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วมพร้อม ขอความร่วมมือ ได้โปรดช่วยกัน ใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด (ไม่ควรเปิดน้ำ ไฟ และพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่ในห้องพัก) และโปรดทำความสะอาดห้องพัก ห้องน้ำ รวมทั้งดูแลรักษา ของใช้ประจำห้อง และเมื่อจะกลับบ้านให้ตรวจสอบเครื่องใช้ทุกอย่างให้อยู่ครบ ก่อนส่งคืนห้อง ให้เจ้าหน้าที่ |
๖.
|
กุฏิที่จัดไว้เป็นห้องปฏิบัติเฉพาะพระสงฆ์ก็ดี บุรุษก็ดี สตรีก็ดี ห้ามมิให้เพศตรงข้ามเข้าไปนอน หรือใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม โดยเด็ดขาด |
๗.
|
นักปฏิบัติจะต้องไม่นำของมีค่าติดตัวมาด้วย หากสูญหายทางศูนย์ฯ จะไม่รับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น (ถ้านำมาแล้ว ต้องเก็บไว้กับตัวเสมอ) |
๘.
|
หากมีความจำเป็นต้องการจะฝากซื้อของ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ (เขียนใส่ในกล่องขอความช่วยเหลือ พร้อมเลขห้องพัก) |
๙.
|
ห้ามมิให้ผู้เข้าปฏิบัติให้เงิน หรือของมีค่าใดๆ กับเจ้าหน้าที่ในศูนย์ฯ หากต้องการบริจาค ให้บริจาคที่ ฝ่ายการเงิน ของศูนย์ฯเท่านั้น เพื่อจัดสรรให้เจ้าหน้าที่โดยทั่วถึงกัน |
๑๐.
|
หากต้องการส่งเสื้อผ้าซัก และทิ้งขยะ ให้วางไว้ที่หน้าห้องทางขึ้นบันไดเท่านั้น เจ้าหน้าที่จะไม่เข้าไปเก็บเสื้อผ้า และขยะในห้องของท่าน (ชิ้นละ 10 บาท จะมาเก็บประมาณเที่ยงของทุกวัน) |
๑๑.
|
ผู้ปฏิบัติจะต้องงดเว้นจากของเสพติดทุกชนิด อาทิ เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน บุหรี่ หมาก เครื่องดองของมึนเมา เป็นต้น และห้ามนำยาเสพติดทุกชนิดเข้ามาในบริเวณศูนย์ฯ เป็นอันขาด |
๑๒.
|
ทางศูนย์ฯ มีขวดน้ำดื่มวางไว้ที่ศาลารับอาหารของแต่ละโซน ผู้ปฏิบัติสามารถบริการตัวเองนำไปใช้ดื่มที่ห้อง แล้วเขาขวดเก่ามาเปลี่ยนเอาขวดใหม่ไปใช้ได้ |
๑๓.
|
เมื่อเข้ากรรมฐานแล้ว ห้ามสวดมนต์ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ และใช้โทรศัพท์โดยเด็ดขาด( กรุณาฝาก โทรศัพท์มือถือ ไว้กับเจ้าหน้าที่ หากเจ้าหน้าที่ หรือวิทยากรพบว่ามีการใช้โทรศัพท์ ทางศูนย์ฯ จะตักเตือนไม่เกิน ๒ ครั้ง แล้วจะดำเนินการตามกฏข้อที่ ๒๓ ต่อไป) |
๑๔.
|
พึงเจริญสติ กำหนดรู้อาการของกาย ใจ อย่างช้าๆ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง ทั้งในศาลาปฏิบัติธรรมห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน ทุกๆ ขณะระหว่าง การปฏิบัติ แม้ในเวลาพักเปลี่ยนอิริยาบถ |
๑๕.
|
ไม่ติดต่อกับใครตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจริงๆ และต้องได้รับอนุญาตจาก พระวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ช่วยพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมก่อน |
๑๖. |
หากมีความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ให้ปรึกษาพระวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ช่วยพระวิปัสสนาจารย์เท่านั้น |
๑๗. |
ในช่วงเวลาปฏิบัติธรรม ให้ลงปฏิบัติธรรมที่ศาลาปฏิบัติธรรมเท่านั้น ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจาก พระวิปัสสนาจารย์ ให้ปฏิบัติในที่พักได้ แต่ห้ามปิดประตูปฏิบัติอยู่ในห้องนอน ให้ปฏิบัติที่ระเบียงหน้าห้องพัก (เพื่อพระวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ช่วยพระวิปัสสนาจารย์จะได้เดินดู การปฏิบัติธรรมได้) และ เวลากลางคืน ให้เปิดไฟปฏิบัติ |
๑๘. |
ห้ามคุย บอก หรือถามสภาวะธรรมกับผู้ปฏิบัติด้วยกันเองเป็นอันขาด เพราะจะเป็นภัยแก่ผู้ที่กำลังปฏิบัติทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น โดยจะทำให้อารมณ์ ฟุ้งซ่านและเสียสมาธิ หากมีความสงสัยในการปฏิบัติอย่างไรแล้ว ให้เก็บไว้สอบถาม พระวิปัสสนาจารย์ |
๑๙. |
ต้องส่งอารมณ์ ตามวัน / เวลา / สถานที่ ที่พระวิปัสสนาจารย์กำหนดให้ และกรุณาไปถึงก่อนเวลา ๑๐ นาที |
๒๐. |
ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องถือศีล ๘ โดยเคร่งครัด ( ไม่แต่งหน้าทาแป้ง ใช้ของหอมต่างๆ ) หากท่านถือศีลบริสุทธิ์เท่าใด ผลจากการปฏิบัติ จะบังเกิดได้ชัดเจน (ผู้ที่ป่วย และต้องทานอาหารก่อนทานยา ให้แจ้งผู้ช่วยพระวิปัสสนาจารย์ เพื่อขออนุญาตพระวิปัสสนาจารย์ก่อน) |
๒๑. |
ให้นั่งประจำที่ทุกๆ วัน โดยหันหน้าไปทางพระประธาน แล้วเดินจงกรมตามแนวของอาสนะ ไม่ควรเปลี่ยนที่ เดินจงกรม หรือที่นั่ง เพราะเป็นการรบกวนผู้ปฏิบัติท่านอื่น (หากมีปัญหา ให้ปรึกษา ผู้ช่วยพระวิปัสสนาจารย์) |
๒๒. |
ตื่นตี ๔.๐๐น. และเข้านอน ๒๒.๐๐ น. หรือตามที่พระวิปัสสนาจารย์กำหนดให้ |
๒๓. |
ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ดังกล่าวข้างต้น และได้รับการตักเตือน จากพระวิปัสสนาจารย์ หรือผู้ช่วยพระวิปัสสนาจารย์แล้ว ก็ยังคงประพฤติเช่นเดิมอยู่ ผู้ปฏิบัติต้องยินยอมที่จะออกจากศูนย์ฯ โดยไม่มีข้อ โต้แย้งใดๆทั้งสิ้น และในการเข้าปฏิบัติธรรม ครั้งต่อๆ ไปทางศูนย์ฯจะพิจารณา ที่จะไม่รับ ผู้ปฏิบัติที่ฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ เป็นนิจ |
|
พระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ พระวิปัสสนาจารย์ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
|